รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ ซึ่งข้อดีของมอเตอร์ไฟฟ้าทำให้เกิดแรงบิดได้ทันที ส่งผลให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีอัตราเร่งที่เรียบและรวดเร็ว ในอดีตรถพลังงานไฟฟ้าเคยได้รับความนิยม นั่นคือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 จนกระทั่งได้รับผลกระทบจากการที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีประสิทธิภาพ บวกกับราคาของรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากการผลิตในปริมาณมาก ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1970 ถึง 1980 เกิดวิกฤตการณ์ทางพลังงาน ทำให้รถพลังงานไฟฟ้ากลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงเวลาสั้นๆ จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 21 จึงได้กลับมาผลิตรถพลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจังเนื่องจากแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ระบบจัดการพลังงานที่ดีขึ้น ประกอบด้วยราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูง และความต้องการที่จะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ จึงได้คิดค้นพลังงานทดแทนน้ำมัน ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือพลังงานไฟฟ้า เพราะพลังงานไฟฟ้าสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ เช่น จากเขื่อน โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ พลังงานลม พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป้นต้น เหล่านี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งสิ้น ดังนั้นพลังงานในอนาคตก็คือ พลังงานไฟฟ้า ซึ่งการเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เป็นตัวชี้วัดถึงจุดเปลี่ยนพลังงานในอนาคตนี้ ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าได้แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามระบบการใช้งาน ดังนี้
1. รถยนต์พลังงานไฟฟ้า "EV" (Electric Vehicle)
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ Electric Vehicle (EV) จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว ไม่มีเครื่องยนต์ระบบสันดาปภายในไว้ใช้งาน จึงไม่มีการปล่อยไอเสียและไม่สร้างมลพิษ ซึ่งสามารถชาร์จไฟได้สม่ำเสมอเมื่อแบตเตอรี่หมด ผ่านทางที่ชาร์จภายในบ้านหรือสถานีชาร์จไฟ โดยใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงในการชาร์จปกติ หรือ 2-4 ชั่วโมงในการชาร์จผ่านแทนชาร์จเร็ว ทั้งนี้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีองค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ขนาดใหญ่ และอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า โดยตัวแปลงจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับและส่งต่อไปยังมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน สามารถทำให้รถวิ่งได้อย่างน้อย 300 กิโลเมตรขึ้นไป
2. อี–พาวเวอร์ (E-Power Technology)
อี-พาวเวอร์เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างนิสสัน ซึ่งมีการผสมผสานการทำงานระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้า และระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยหลักการง่ายๆ ของระบบอี-พาวเวอร์ ค่อนข้างคล้ายกับระบบไฮบริด คือประกอบด้วย เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ต่างกันที่ อี-พาวเวอร์ จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปั่นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ที่แบตเตอรี่และส่งพลังงานไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า ขณะที่ไฮบริดขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าค่อยสนับสนุน อีกทั้งยังต่างกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ตรงที่ไม่ต้องเสียบปลั๊กชาร์จไฟ เพียงแค่เติมน้ำมันก็สามารถใช้งานได้เหมือนรถยนต์ทั่วไปแล้ว
3. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด "HEV" (Hybrid Electric Vehicle)
ระบบไฮบริด หรือ Hybrid Electric Vehicle (HEV) มีรูปแบบการทำงานที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับพลังงานไฟฟ้า โดยยังคงใช้เครื่องยนต์หลักดั้งเดิมในการขับเคลื่อน แต่จะมีมอเตอร์และแบตเตอรี่ที่จะช่วยให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ด้วยการใช้ไฟฟ้าประมาณ 2-3 กิโลเมตร โดยเครื่องยนต์หลักที่ใช้จะทำงานผสมผสานกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งระบบจะเลือกทำงานเองโดยอัตโนมัติ โดยมอเตอร์จะช่วยออกตัวด้วยระบบไฟฟ้า ก่อนที่เครื่องยนต์จะทำงานต่อ ทั้งนี้หากเมื่อรถติด หรือรถหยุดนิ่ง ถ้ารถมีแบตเตอรี่มากพอ เครื่องยนต์จะดับ แล้วดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไฟหน้ารถ แอร์รถยนต์ เครื่องเสียง เป็นต้น
4. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด "PHEV"(Plug-in Hybrid)
ระบบ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือ Plug-in Hybrid (PHEV)เป็นรถยนต์ประเภทหนึ่งของไฮบริด ที่ผสานเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ชาร์จไฟได้ โดยการเสียบปลั๊กไฟฟ้าที่อยู่ในบ้านหรือที่สถานีชาร์จไฟ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 4-6 ชั่วโมงจนแบตเตอรี่เต็ม ซึ่งช่วยให้รถยนต์สามารถวิ่งได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่อย่างเดียว ประมาณ 20-50 กิโลเมตร โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเลย แต่ทั้งนี้ก็สามารถกลับมาใช้ระบบไฮบริดที่ใช้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าได้เช่นกัน
5. รถพลังงานไฮโดนเจน (Fuel Cell)
รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน หรือ รถยนต์ Fuel Cellเป็นรถยนต์ไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่มีการใช้ไฮโดรเจนที่เป็นพลังงานสะอาด มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าแล้วนำไปขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ โดยในโครงสร้างจะมีแผงเซลล์เชื้อเพลิงที่เก็บไฮโดรเจนในรูปแบบของเหลว มอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและชาร์จกระแสไฟฟ้า และแบตเตอรี่ ซึ่งหลักการทำงานของรถยนต์ระบบนี้ จะมีการส่งไฮโดรเจนและอากาศที่มีออกซิเจนเข้าไปสู่แผงเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อทำปฏิกิริยาการสร้างกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ จากนั้นกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ก็จะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ต่อไป
ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า
- การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้านอกจากจะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากฟอสซิล อย่างน้ำมันเบนซิน และดีเซล ลงแล้ว ยังจะสามารถช่วยให้สภาวะแวดล้อมของโลกดีขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่เลวร้ายลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้อีกด้วย
- ช่วยให้ประเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 15 ปี
- มีผู้ขับขี่หลายรายที่ชื่นชอบและติดใจประสบการณ์ในการขับขี่รถพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะเรื่องอัตราเร่ง เนื่องจากรถไฟฟ้าให้แรงบิดได้ทันใจแทบจะในทันที ไม่จำเป็นต้องรอรอบเครื่องเหมือนกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ทำให้การออกตัว เร่ง ทำได้รวดเร็ว ให้ความรู้สึก "เบา" และ "ปราดเปรียว" กว่ารถใช้น้ำมัน
- เครื่องยนต์ทำงานเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน เนื่องจากกลไกในการขับเคลื่อนไม่มาเท่ารถที่ใช้เชื้อเพลิง
ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า
- ข้อจำกัดของพลังงานแบตเตอรี่ เป็นจุดอ่อนสำคัญของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือบีอีวี เนื่องจากแบตเตอรี่มีความจุจำกัด ทำให้รถยนต์อีวีส่วนใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดวิ่งได้เป็นระยะทางไกลที่สุดไม่เกิน 100 ไมล์หรือ 160 กิโลเมตรต่อการชาร์จประจุเต็มที่ 1 ครั้ง มีเพียง "เทสลา" เท่านั้นที่ทลายข้อจำกัดดังกล่าวได้ โดยชาร์จประจุไฟฟ้า 1 ครั้งทำระยะทางได้มากกว่า 250 ไมล์ ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ผลิตแบตเตอรี่
- ราคารถพลังงานไฟฟ้า รถพลังงานไฟฟ้าจัดเป็นรถราคาแพงเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั่วไป
- ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ ระยะเวลาเฉลี่ยทั่วไปในการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มนั้นอยู่ที่ประมาณ 4 ชั่วโมงกับ 30 นาที ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาที่สะดวกที่สุดในการชาร์จก็คือตอนกลางคืนทั้งคืน แล้วนำรถไปใช้ในตอนกลางวัน หากผู้ใช้ไม่สามารถปรับการใช้งานให้สอดคล้องได้ การชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในทันทีเช่นกัน ข้อนี้เป็นข้อเสียที่เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับรถใช้น้ำมันทั่วไปที่เติมน้ำมันได้เต็มถังในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
- มีรุ่นรถให้เลือกน้อย ถึงแม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายจะเล็งเห็นว่ารถพลังงานไฟฟ้าคืออนาคต แต่ถึงเวลานี้ยังมีผลิตกันออกมาไม่มากมายนัก และมีรุ่นให้เลือกใช้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานน้อยลงไปอีก
- สถานีชาร์จประจุไฟฟ้า สถานีชาร์จประจุไฟฟ้ามีน้อย หรือมีจำกัดเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียง แต่เมื่อออกนอกเมืองหรือเดินทางไกลกลับไม่มี จนกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้รถพลังงานไฟฟ้าในเวลานี้
- ตัวรถยนต์มีราคาสูง แม้ว่าจะมีอัตราค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงที่ต่ำ แต่กระบวนการผลิตจนถึงการวางจำหน่ายจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง ทำให้ตัวรถมีราคาสูงตามไปด้วย
ไม่ว่าจะรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์แบบเติมน้ำทั่วไปก็สามารถใช้ทะเบียนสวยป้ายประมูลหรือป้ายกราฟฟิค ได้ หากลูกค้าสนใจจองเลขทะเบียนรถติดต่อที่ >> Selltabien.com
แหล่งที่มา : Nissan
แหล่งที่มา : Thairentecocar
แหล่งที่มา : Masii